suree-weeken: สิงหาคม 2006

28 สิงหาคม 2549

นิทรรศการภาพถ่าย หิมาลัย


27 สิงหาคม 2549


สองกะงูเห่าที่ขอนแก่น

25 สิงหาคม 2549

จากชมพูภูคาถึงไร่ชาแมสลอง

วันหยุดเมื่อปลายปีที่แล้ว เพื่อน ๆ ในกลุ่มไม่มีใครตอบรับโปรแกรมเดินทางของฉันเลย คงมีเพียงกระติ๊บที่โทรกับมาบอกว่าตกลงจะไปกับฉะน อุทธยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน คือเป้าหมายในการเดินทางครั้งนี้
กระติ๊บรับหน้าที่จองตั๋วรถทัวร์ ส่วนฉันรับผิดชอบเรื่องที่พัก ที่ต้องจองล่วงหน้าเพราะเป็นช่วงปีใหม่กลัวแย่งขึ้นรถไม่ทัน ฉันไม่ได้เจอกับกระติ๊บมานานหลายเดือน วันที่เรานัดเจอกันที่หมอชิต แทบจำกันไม่ได้ เพราะเพื่อนสาวของฉันดูมีน้ำมีเนื้อขึ้นเป็นกองเลย...
รถทัวร์พาเราสองคนมาถึงเมืองนานเช้ารุ่งขึ้น เวลาประมาณ 07.30 น. บรรยากาศค่อนข้างเงียบและไม่มีพ่อค้าแม่ขายมาตะโกนขายของให้หนวกหู เหมือนท่ารถสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ น่านเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ที่มีมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และประวัติศาสตร์มากมาย เช่น วัดภูมินทร์ วัดพระธาตุช้างค้ำ พระธาตุแช่แห้ง งาช้างดำที่พิพิธภัณฑ์ซึ่งห่างจากท่ารถไม่มากนัก ในคือมือเดินทาง "นายรอบรู้" แนะนำให้นั่งสามล้อถีบเที่ยวรอบเมือง ราคาเริ่มต้นที่ 50 บาท




ฉันกับกระติ๊บก็ใช้บริการรถสามล้อถีบตามที่หนังสือแนะทำ การนั่งรถลักษณะนี้ทำให้เราได้ทัศนาบรรยากาศสองข้างทางได้เป็นดี เราลงที่จุดบริการนักท่องเที่ยว ไม่ได้ให้ลุงถีบสามล้อพาเที่ยว เพราะคิดว่าแต่ละจุดพวกเราจะใช้เวลานาน ลุงสามล้อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในระแวกนั้น เราข้ามถนนไปวัดพระธาตุแช่แห้งซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม ตามประวัติวัดนี้เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ มีอายุกว่า 600 ปี และใกล้ ๆ กันเป็นวัดภูมินทร์ บรรยากาศค่อนข้างเงียบและร่มรื่น เมื่อเข้าไปในโบสถ์จะมีไกด์ตัวน้อยคอยให้ความรู้อย่างฉะฉาน โบสถ์และวิหารของวัดนี้จะแปลกกว่าวัดอื่น ๆ เพราะจะสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกันเป็นทรงจตุรมุข (กรมศิลปากร ได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย) นาคสะดุ้งขนาดใหญ่ แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัว ตรงใจกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตู ทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปกรรมไทลื้อ ที่เล่าเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ออกจากวัดภูมินทร์กระติ๊บติงฉันว่า "ไม่ได้มาทัวร์วัฒธรรมนะเพื่อน" เที่ยวเพลินจนลืมไปว่าเพื่อนสาวที่มาด้วยนับถือศาสนาอิสลาม การเที่ยววัดเพื่อนคงไม่บันเทิงนัก จึงต้องพักทัวร์วัดมาหาอะไรทานกัน ไม่ไกลกันมีร้านข้าวซอย เนื้อ ไก่ ถัดไปเป็นร้านกาแฟสด เจ้าของร้านแต่งร้านได้น่ารัก แถมอัธยาศัยดีบริการเป็นกัน อิ่มหนำสำราญแล้วจึงมาที่พิพิธภัณฑ์น่าน เพื่อศึกษาเรื่องราวและความเป็นมาของเมืองน่านก่อนมุ่งหน้าสู่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา


รถสองแถวเล็กจากอำเภอ เมืองพาเรามุ่งหน้าสู่อำเภอปัว ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ขึ้นเขาลงเขา เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา โอ... หลับดีกว่าเรา รถสองแถววิ่งยาวผ่านป่าเขาที่ถนนตัดผ่านอย่างดี มาแวะอีกทีก็ถึงชุมชนเล็ก ๆ ก่อนถึงอำเภอปัว จากนั้นอีกไม่ไกลก็ถึงจุดที่เราต้องมารอขึ้นรถสองแถวคันใหญ่ (รถ 6 ล้อ) เพื่อไปที่อุทายานแห่งชาติดอยภูคา รถจะออกทุก ๆ 1 ชั่วโมง หรือนานกว่านั้นหากมีผู้โดยสารน้อย ระหว่ารอรถสามารถไปเดินเล่นที่ตลาดใกล้ ๆ ได้ ข้ามถนนไปก็มีร้านอาหาร ผัดไทอร่อย แต่รอนานมากเพราะมีอยู่ร้านเดียว กินจนอิ่มท้อง ถ้านอนก็คงหลับไปหลายตื่น รถก็ไม่มีทีท่าว่าจะออกซักที ทำท่าทางหงุดหงิดเล็กน้อย คนขับคงจะเบื่ออาการของนังสองคนนี้จึงเรียกผู้โดยสารที่นั่งรอทั้งหมดขขึ้นรถ
ด้วยระยะทางกว่า 25 กิโลเมตร บนถนนที่คดโค้งลาดชันทำเอาฉันกับกระติ๊บเกิดอาการมึน ๆ ไม่มีแรงแม้กระทั่งจะแกะขนมกิน ตลอดสองข้างทางสดชื่นและเขียวชอุ่ม ต้นผักสลัดสูงเท่า ๆ กับกระติ๊บ เพราะมันแก่และชาวบ้านไม่ตัดไปขายแล้วจึงปล่อยให้ตายไปเอง ด้านหน้าอีกไม่ไกลนั้นเป็นภูเขาลูกใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา รถสองแถวจอดให้พวกเราลงหน้าที่ทำการอุทยาน แล้วมุ่งหน้าต่อไปที่บ่อเกลือหมดระยะที่บ้านมณีพฤกษ์ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวทางเกษตร มีโครงการทดลองปลูกผลไม้เมืองหนาว เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง และเผ่าลั๊วะ เส้นทางนี้มีรถโดยสารบริการวันละ 2 เที่ยว คือ เช้ากับเย็น

เราโบกรถเพื่อขึ้นไปยังที่ทำการ อช. เวลาประมาณสี่โมงกว่า ๆ อากาศกำลังเย็นสบาย อากาศดีเพราะต้นไม้เยอะ ฟ้าเป็นสีฟ้าสวยสด เป็นครั้งแรกที่ฉันใช้บริการจองห้องพักทางอินเทอร์เน็ตจ่ายเงินล่วงหน้า กว่าจะจองได้แทบแย่เพราะถูกจองเต็มหมดก่อนแล้ว โชคดีที่มีคนไม่จ่ายเงิน ฉันเลยได้แทน หากจองผ่านเว็บไซต์ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าภายใน 3 วัน ใครไม่จ่ายก็อด "บ้านเกวียน" ราคา 300 บาท ที่ฉันจองไว้อยู่ห่างจากที่ทำการเอาเรื่อง ต้องเดินขึ้นเนินใหญ่ ๆ 1 เนิน เรียกเหงื่อในหน้าหนาว ผ่านพ้นเนินใหญ่ไปเป็นจุดกางเต็นท์ จุดที่ 1 เต็นท์ที่เจ้าหน้าที่กางไว้ให้เป็นเต็นท์ลาดพรางเหมือนกันหมดทุก จัดเป็นแถว ๆ ล้อมเป็นวงโดยให้พื้นที่ตรงกลางไว้สำหรับก่อกองไฟ หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ถัดไปติดขอบป่าเป็นจุดพักที่ 1 "บ้านเกวียน" หลังน้อยน่ารัก หลังคามุงจาก ตั้งอยู่หลายหลังในลักษณะเป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากัน ตรงกลางมีม้าหินให้นั่งทำกิจกรรมหรือจะก่อกองไฟก็ได้ บ้านเกียวนมุงหลังคาด้วยหญ้าคา ด้านในบุด้วยพลาสติกเพื่อกันน้ำค้าง ด้านในมีฟูกหนาวนุ่ม ผ้านวม และหมอนอย่างดี นอนได้สองคนกำลังอบอุ่น ด้านหน้าของบ้านมีระเบียงเล็ก ๆ ให้นั่งเล่น ในบ้านตรงหัวนอนมีหน้าต่างและชั้นสำหรับวางข้าวของได้เล็กน้อย นี่ถ้ามากับแฟนสุดแสนจะโรแมนติก
เก็บข้าวของเสร็จแล้วก็เดินสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงและบ้านพักหลังอื่น ๆ ว่าน่าอยู่เพียงไร ถ้าเรามาเป็นกลุ่มใหญ่ แล้วต้องการนอนรวมกันที่นี่ก็มีบ้านเป็นหลัง ๆ ไว้ให้บริการ แต่เสียดายที่เรามากันแค่สองคน ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งได้รับเกียรติให้เป็นจุดส่งสัญญาโทรศัทพ์ติดป้ายไปที่โคนต้นว่า "จุดรับสัญญาโทรศัพท์" เราจึงเห็นนักเดินทางยืนคุยโทรศัพท์รายงานความเคลื่อยไหวอยู่ใต้ต้นไม้นั้น เดินสำรวจเส้นทางและเพื่อนร่วมเดินทางที่มีใจตรงกันที่ดอยภูคาเสร็จจึงเดินลงมาสั่งอาหารที่ศูนย์อำนวยความสะดวกอยู่ที่ทำการนั่นเอง ขาลงสนุกมากเพราะเป็นทางลาด แต่ขาขึ้นสิ เดินช้าเป็นยายแกเลยฉัน เมนูอาหารบอกลาปีเก่าของเราคือ ไข่เจียว ปลานินทอดกรอบ ต้มจืด และข้าวสวย นี่ถ้ามากันครบทั้งกลุ่มเราก็คงมีกิจกรรมและทำอาหารกินกัน ร้องเพลงรอบกองไฟสนุกไปแล้ว เสียดาย...

ถัดจากบ้านเกวียนไปนิดหน่อยเป็นจุดชมวิวที่สร้างเป็นศาลาตรงชะง่อนผา เป็นจุดที่ดูพระอาทิตย์ตกดินสวยงามที่สุด เบื้องล่างเป็นหุบเขา มองไกลออกไปจะเห็นเทือกเขาสลับซับซ้อน พระอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนตัวลับขอบฟ้าบอกลาปีเก่าพร้อมกับเปล่งแสงสีทองสุดท้ายบอกลาขุนเขาและแผ่นฟ้าอย่างน่าประทับใจ ฉันกับกระติ๊บนั่งคุยกันที่ศาลาพักใหญ่ คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายของปีเก่า เราไม่ได้ไปดื่มฉลองที่ไหน ไม่มีปาร์ตี้เฮฮาพร้อมหน้าพร้อมตาเพื่อนฝูงเช่นปีก่อน ๆ ที่ผ่านมา วันนี้เรามาบอกลาปีเก่าที่ดอยภูคา จะว่าไปแล้วก็เหงาอยู่ไม่น้อย ไม่รู้จะมีเต็นท์ไหนบ้างหนอที่จะมากันแค่สองคนอย่างเรา อากาศหนาวทำให้ฉันไม่อาบน้ำหรือแม้กระทั่งล้างหน้า อาหารมือค่ำของเราสองคนคืนอร่อยและอิ่มเอมหัวใจนัก เสียหรีดเรไรขับกล่อมจนไม่รู้ว่าใครหลับก่อนกัน รู้แต่ว่านอนหลับสบายดีจัง
บ้านพักข้าง ๆ ตื่นมาชงกาแฟแต่เช้า กลิ่นเย้ายวนจะทนไม่ไหว ต้องรีบเก็บสัมภาระแล้วลงมาหากาแฟกินที่ทำการอุทยาน ข้างต้มปลาร้อน ๆ อีก 1 ถ้วย เติมพลังก่อนไปเดินป่ารอบเล็กเพื่อไปดูเจ้าต้นชมพูภูคา ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่หายาก มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า "ไบร์ทชไนเดอร์ซีเนนซีส" เมื่อก่อนสูญพันธุ์ไปแล้ว และมาเจออีกครั้งในป่าดอยภูคาแห่งนี้ ลักษณะของดอกชมพูภูคา จะมีกลีบดอกด้านนอกมีสีชมพูจางขาว และกลีบดอกด้านในมีสีชมพูลายเส้นสีม่วง ชูช่อเป็นพวงใหญ่ ออกดอกเต็มต้นทุกปี การเพาะพันธุ์จะมีที่เกินขึ้นเองตามธรรมชาติ และเจ้าหน้าที่เพาะขึ้น เจ้าหน้าที่บอกว่ารอบ ๆ ที่ทำการอีก 4-5 จะมีต้นชมพูภูคาขึ้นเต็มไปหมด ไม่ต้องเดินเข้ามาดูในป่า
เดินป่าครั้งนี้เหนื่อยแสนเหนื่อย กระติ๊บแซวว่าแก่แล้วก็เหนื่อยยอย่างนี้แหละ เดินยังไม่ถึงครึ่งทางเลยต้องขอพัก ป่าที่นี่ไม่เหมือนป่าที่เคยเดิน เพราะเป็นป่าที่เพิ่งปลูก ไม่ใช่ป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ในป่านี้มันขึ้นเป็นแถวเป็นแถวอย่างมีระเบียบ น่าเสียดายที่เราไม่ได้เห็นดอกชมพูภูคา เพราะตอนนี้พึ่งจะแตกยอด กว่าจะออกดอกก็ประมาฯเดือนกุมภาพันธ์ ตอนนี้ก็ดูดอกนางพระยาเสือโคร่งไปพลาง ๆ ก่อนเพราะลักษณะคล้าย ๆ กัน
โบกรถลงจากดอย บังเอิญจริง ๆ ที่เป็นรถคัดเดียวกันกับที่เราโบกขึ้นดอย พี่สาวที่นั่งมาด้วยกันบอกว่า บ้านพี่อยู่ตรงปากทางนี่เอง พอดีญาติมาเที่ยวเลยอาสาเป็นไกด์พาขึ้นดอย เดี๋ยวพี่ให้รถไปส่งที่ท่ารถนะ...ขอบคุณคร๊าบบบบ.... เพื่อนร่วมทางที่ใจดี

24 สิงหาคม 2549

ปลาดาวพราวเสน่ท์
หทัยทิพย์สู้ ๆ นะจ๊ะ เพื่อนเป็นกำลังใจให้ หนังสือออกเมื่อไหร่แจ้งเกิดแน่นอน... สู้ ๆ ๆ

สุดสวยประจำบ้าน น้อง Bell

22 สิงหาคม 2549

18 สิงหาคม 2549

คิดถึงทะเลจัง

เราคงเดินสวนทางกันอีกครั้งณ มุมใดมุมหนึ่งของโลกใบนี้

17 สิงหาคม 2549

บาทาพาเดิน

เท้าคู่นี้ที่ "เลยลีลาวดี รีสอร์ท"

คู่หูคู่ซ่า เจ้าหลายตัวแสบ

น้องไบร์ท กะ น้องภูมิ
จอมซ่าประจำซอย น้องภูมิยังไม่เท่าไหร่ แต่เจ้าไบร์ทสิ ช่างร้ายนัก

แม่ดิฉันเองค่ะ

"คุณนายแดง"

เพื่อนกันตลอดไป

มิตรภาพของเพื่อน อย่างไรก็คงทนและถาวร

เมื่อครั้งโดนหักอก

ภาพ : ป้าเอด
นางแบบ : ป้าทริป
ศิลป์ : น้องสอง

แม่น้ำแม่กลอง ตอนเช้าตรู

เช้าวันหนึ่งที่ถูกปลุกแต่เช้าเพื่อมาใส่บาตรริมแม่น้ำแม่กลอง
"น้ำเชียวมาก ๆ นังเอาเท้าแกว่งน้ำเล่น ปลามาตอด นึกกลัวว่าจะกลายเป็นพี่จอเข้ เอาเท้าขึ้นแทบไม่ทัน"

ทริป 2 สาวดาวเต้น (ตลาดน้ำอัมพวา)


นี่ก็เป็นกิจกรรมอีกวันหยุดหนึ่งที่ตลาดน้ำอัมพวา
งานนี้มีแต่กิน กับ กิน และก็กิน กิน กิน